สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี 100) Thai Renewable energy (RE100) association

หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตร “การบริหารจัดการการเปลี่ยนผ่านพลังงานและการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ” รุ่นที่ 7

เปิดหลักสูตร ETC7

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568

ปิดหลักสูตร ETC7

วันที่ 26 มีนาคม 2568

#ค่าลงทะเบียน

36,000 บาท

รวม:

⏺ ของว่าง เครื่องดื่ม อาหารกลางวัน ทุกวันอบรม
⏺ Networking session กับ ETC Family ทุกครั้งหลังเลิกเรียน
⏺ ETC Fielf Trip

ปิดรับสมัคร และชำระเงินภายใน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568

แบบฟอร์มลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม

สแกน QR CODE หรือ กดที่ลิงค์นี้

* ชำระค่าลงทะเบียน

เลขที่บัญชี 074-7-47611-7

(*ชำระเงินภายในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568)

โอนผ่านธนาคารกรุงเทพ สาขา มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา
ชื่อบัญชี น.ส. พรรณทิพย์ กาหยี นายศิวพันธุ์ ชูอินทร์ และ น.ส. ทัศนาวลัย อุฑารสกุล
ส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่ Email : pantip.ka@ssru.ac.th

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ผศ.ดร.พรรณทิพย์ กาหยี
(คณะวิทย์ฯ มรภ สวนสุนันทา)
Email : pantip.ka@ssru.ac.th
โทร : 090-9584-888

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณสรัญญา สุขสวัสดิ์
ผู้จัดการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน
Email : etc@cep.or.th
โทร : 084-978-6361

หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกติกาโลกในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตลอดจนกฎเกณฑ์การกีดกันทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้นดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มผู้ประกอบการในประเทศไทยในภาคผลิต การค้า และส่งออกรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี 100) มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาขน กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการพลังงานหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นนี้จึงได้มีความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาหลักสูตร “การบริหารจัดการการเปลี่ยนผ่านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Energy Transition & Climate Change Management (ETC)” เพื่อให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้แก่ภาครัฐและเอกชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวเพื่อหาแนวทางในการรับมือและปรับตัวในการดำเนินการธุรกิจตามกติกาโลก และเพิ่มศักยภาพในการแข่งกันทางการค้าในตลาดโลกต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้แก่ภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับตัวและหาแนวทางในการดำเนินการธุรกิจตามกติกาโลกในช่วงการเปลี่ยนผ่านพลังงาน และเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และองค์กรของตนเอง และเสริมสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรต่างๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการการเปลี่ยนผ่านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามกติกาโลก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรและประเทศได้ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

1. องค์กรภาคเอกชน
2. หน่วยงานภาครัฐ
3. รัฐวิสาหกิจ
4. องค์กรอิสระ
5. หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

50 ท่านต่อรุ่น

การติดตามประเมินผลงาน

• ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี 100) และ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาขน โดยจะต้องมีเวลาเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด

• ผู้ผ่านการประเมินจากการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้สามารถโอนหน่วยกิตตามจำนวนชั่วโมงในรายวิชาบังคับของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต/ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อธุรกิจสีเขียวที่ยั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

ตารางการอบรม

Module 1

: Introduction of ETC
: Renewable Energy

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 9.00 - 16.30 น.

Time Topic Duration (hr) Lecturer
09.00 – 09.15 พิธีเปิด 0.5  
09.15 – 10.15 Ice Breaking 1.0  
10.30 – 11.00 Introduction of ETC 0.5 คุณนที สิทธิประศาสน์
11.00 – 11.30 ความหมายของพลังงานต่าง ๆ และประเภทของ RE 0.5 คุณนที สิทธิประศาสน์
11.30 – 12.00 ความสำคัญของ RE ในการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality / Net Zero GHG Emission  0.5 คุณนที สิทธิประศาสน์
13.00 – 13.45 Solar Energy and Bess 0.75 คุณชัพมนต์ จันทรพงศ์พันธ์
13.45 – 14.15 Wind Energy 0.5 คุณวัชรพงศ์ เข็มแก้ว
14.15 – 14.45 H2 Energy 0.5 คุณธนัย โพธิสัตย์
15.00 – 16.30 RECs / I-RECs VS Carbon Credit 1.5 คุณนที สิทธิประศาสน์

Module 2

: Energy Transition Infrastructure
: Energy Efficiency

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 9.00 - 16.30 น.

Time Topic Duration (hr) Lecturer
09.00 – 11.00 Energy Transition Infrastructure
– Appropriated Truth & Trust on Climate Change
– Need of Transition
– Key Infrastructures
2.0 คุณอาทิตย์ เวชกิจ
  11.00 – 12.00 Energy Efficiency
– Energy Efficiency to be Achieved
– ESCO : The Sustainable Solutions
1.0 คุณอาทิตย์ เวชกิจ
13.30 – 16.30 Implementing Energy Efficiency
– Key Technology Driver
– Financial Model of Energy Efficiency
– Measurement & Verification for MRV towards Carbon Neutrality
3.0 คุณพีรศุษม์ ธีระโกเมน

Module 3

: Low Carbon Design

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 9.00 - 16.30 น.

Time Topic Duration (hr) Lecturer
09.00 – 12.00 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพลังงานความร้อนต่ออาคาร หลักการออกแบบอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน 2 แนวทาง Passive Design, Active Design 3.0 คุณนิติศักดิ์ ชอบดำรงธรรม
 13.30 – 15.30 อาคารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2.0 ศ.ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์
15.30 – 16.30 Low carbon product design 1.0 คุณกิตติพงษ์ วนภิญโญศักดิ์
จาก Modernform

Module 4

: Carbon Reduction / Removal

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 9.00 - 16.30 น.

Time Topic Duration (hr) Lecturer
09.00 – 10.30 ESG, 3R: Reduce ลดการใช้, Reuse ใช้ซ้ำ, Recycle รีไซเคิล และ Circular Economy 1.5 คุณภัทรพล ตุลารักษ์
 10.30 – 12.00 Waste management for Carbon Reduction การจัดการของเสีย 1.5
13.30 – 16.30 Carbon Capture/Carbon Storage การดักจับคาร์บอนจากเครื่องดักจับ การดักจับคาร์บอนจากป่าไม้ 3.0 รศ.ดร.จินตวัฒน์ ไชยชนะวงศ์

Module 5

: Carbon Neutrality / Carbon Credit

วันพุธที่ 5 มีนาคม 2568 เวลา 9.00 - 16.30 น.

Time Topic Duration (hr) Lecturer
09.00 – 10.00 ที่มา แนวคิด หลักการ องค์ความรู้ทางวิชาการ และมาตรฐานกลไกคาร์บอนเครดิต 1.0 คุณวิวัฒน์ โฆษิตสกุล
 10.00 – 12.00 ลักษณะ/กิจกรรมของโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่เข้า ข่ายเป็นโครงการคาร์บอนเครดิต 2.0
13.30 – 14.30 แนวทาง และการประยุกต์ใช้คาร์บอนเครดิตในรูปแบบต่างๆ 1.0
14.30 – 15.30 ขั้นตอนการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิต 1.0
15.30 – 16.30 เปรียบเทียบมาตรฐานต่าง เช่น Verra, Gold standard, TVER (วัตถุประสงค์,ขั้นตอน,ราคา, ผู้ให้บริการ 1.0

Supporting Module : Sustainable Finance

วันพุธที่ 19 มีนาคม 2568 เวลา 9.00 - 16.30 น.

Time Topic Duration (hr) Lecturer
09.00 – 10.30 Introduction to ESG Loans 1.5 คุณพรพุฒิ สุริยะมงคล
(ธนาคารกสิกรไทย)
 10.30 – 12.00 Introduction to ESG Bonds 1.5 คุณณัฏฐนิช โกษาคาร
คุณมนตรี อุปถัมภากุล
(ธนาคารกรุงเทพ)
13.30 – 16.30 Supporting Sustainable finance Organizations 3.0 ผู้แทนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ผู้แทนจาก บพข.

Module 6

: Carbon Neutrality / Carbon Credit

วันพุธที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 9.00 - 16.30 น.

Time Topic Duration (hr) Lecturer
09.00 – 11.00 Workshop Carbon Credit 2.0 คุณเจษฎา ฟ้าเลิศ
 11.00 – 12.00 -รูปแบบการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเสรี
-กฎระเบียบการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและพลังงาน
-ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตและพลังงานหมุนเวียนในสากลและประเทศไทย
1.0 คุณเจริญชัย ประเทืองสุขศรี
13.30 – 15.30 Workshop ETC 2.0 คุณรองเพชร บุญช่วยดี
15.30 – 16.30 พิธีปิดและมอบประกาศนียบัตร 1.0
17.30 – 20.30 ETC Networking 3.5

หมายเหตุ : รายละเอียดการอบรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

การศึกษาดูงาน

วันพุธที่ 12 มีนาคม 2568 - อยู่ระหว่างการประสานงาน