ความหวัง และทิศทางของอุตสาหกรรมไทย กับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทย ในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2050…  วันนี้อุตสาหกรรมไทย เราพร้อมแล้ว จริง หรือ ? ”

การเปลี่ยนผ่านในภาคอุตสาหกรรมด้วยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาปรับใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งวันนี้ Net Zero Carbon นี้ ยิ่งทวีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นทุกขณะ ด้วยความสำคัญดังกล่าว ที่สอดรับกับเป้าหมายของไทยสู่การสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065  เราต้องมาประสานความร่วมมือกับภาครัฐ กำหนดแผนที่เป็นรูปธรรม เพื่อขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก และนำพาอุตสาหกรรมไทย เปลี่ยนผ่านสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

นายวีระเดช เตชะไพบูลย์ นายกสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี100)  ได้ร่วมกับ บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย  ผู้จัดงาน  ASEAN Sustainable Energy Week 2024  ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม 2567  ให้การสนับสนุนจัดงานสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง “ อุตสาหกรรมไทยพร้อม  เข้าสู่ Carbon Neutrality ? ” ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 โดยได้รับเกียรติ จากคุณนที  สิทธิประศาสน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาฯ ในวันนี้

และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ประสบการณ์ เชี่ยวชาญในแวดวงพลังงานหมุนวียน อาทิ ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรจน์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน คุณกวิน ทังสุพานิช อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คุณอาทิตย์ เวชกิจ ดร.เสกสรรค์ พรหมนิช  และผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หลังจากการเข้าร่วมประชุม COP26 ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมาย มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2065 แต่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในแผนต่าง ๆ ของภาครัฐอาจจะยังไม่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายได้ทันตามเวลาที่ภาครัฐตั้งไว้ 

สมาคม อาร์อี100  ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ต่อประเด็นด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมไทย จึงได้กำหนดจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “อุตสาหกรรมไทยพร้อมเข้าสู่ Carbon Neutrality ?”  โดยกิจกรรมภายในงานจัดให้มีการเสวนาเต็มวัน โดยภาคเช้า เสวนาในหัวข้อเรื่อง “แผนพลังงานชาติกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ จะตอบโจทย์ Carbon Neutrality และ Net Zero ได้แค่ไหน?” ซึ่งมีประเด็นที่กล่าวถึง อาทิ อุปสรรคและความท้าทายในการพัฒนาการผลิตและใช้ Sustainable Aviation Fuel: SAF, อุตสาหกรรมก๊าซชีวภาพกับการมุ่งสู่ Carbon Neutrality, ปริมาณ Renewable Energy ในประเทศไทย มีมากเพียงพอที่จะลดคาร์บอน ให้ได้ Neutrality หรือ Net Zero แค่ไหน, Direct PPA ในมุมมองภาคเอกชน เป็นต้น และต่อด้วยภาคบ่ายในหัวข้อเรื่อง “เตรียมความพร้อม Infrastructure ประเทศไทย เพื่อก้าวสู่สังคม Beyond Carbon Neutrality” (รายละเอียดงาน ตามกำหนดการที่แนบมา)

ผู้เข้าร่วมจะได้รับฟังข้อมูลและความคิดเห็นจากวิทยากรและผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง อาทิเช่น BOI,  EXIM Bank, EEC, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน  กองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น  ซึ่งการเสวนาครั้งนี้ มุ่งสร้างโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้แลกเปลี่ยนข้อมูล และสะท้อนความคิดเห็น ในประเด็นเรื่องสำคัญๆ ดังนี้

มุมมองด้านแผน PDP 2024  ตอบโจทย์อะไรได้บ้าง
– เป้า Carbon Neutrality ปี 2050 ของประเทศ
– RE100 ปี 2030 จะ บวก หรือ ลบ ของผู้ประกอบการ
– Competitiveness ของประเทศ เช่น FDI , DATA Center

ความเห็นต่อสัดส่วนไฟฟ้าจาก RE 51%  และ Fossil 49% ภายในปี 2037
มุมมองความเห็นต่อนโยบายต่อนโยบาย UGT และ Direct PPA
มุมมองต่อกลไกตลาดเพื่อการลด EMISSIONS  ในภาคสมัครใจ และภาคบังคับ
หรือความคิดเห็นที่ว่า ประเทศไทยสามารถ Go Beyond Carbon Neutrality ได้หรือไม่ เป็นต้น

ในการจัดงานครั้งนี้  สมาคม อาร์อี100  ได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน ซึ่งถือเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ได้ตามเป้าหมาย  การสัมมนาในวันนี้ ได้รับความสนใจทั้งจากภาคธุรกิจ ภาคราชการ และภาคประชาชนชน ลงทะเบียนเข้าร่วมงานในวันนี้จำนวนมากกว่า 100 ท่าน

  1. คุณสุธารี เกียรติมั่น
  2. คุณธันยวีร์ พงษ์วัฒนาสุข
  3. ดร.เสกสรรค์ พรหมนิช
  4. คุณศุภฤกษ์ ยิ้มกอบกิจ
  5. คุณเจมส์ แอนดริว มอร์
  6. คุณนที สิทธิประศาสน์
  1. คุณสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล
  2. ดร.ชลจิต วรวังโส วีรสกุล
  3. คุณวีระเดช เตชะไพบูลย์
  4. คุณศิวัช แก้วเจริญ

วิดีโองานเสวนา